18 ตุลาคม 2552

ชุมชนบ้านบาตร อีกหนึ่งอาชีพที่กำลังจะสูญหาย







กรุงเทพมหาครหรือเมืองบางกอกในอดีตเดิมเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีชุมชุนอาชีพต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตปัจจัยสำคัญในการครองชีพอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ชุมชนชาวสวน ชาวนา จนถึงชุมชนช่าง หรือหมู่บ้านหัตถกรรมต่างๆ อยู่หลายหมู่บ้าน ซึ่งยังปรากฏชื่อตามหมู่บ้านที่บ่งบอกประเภทของหัตถกรรมประจำหมู่บ้านสืบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น บ้านบาตร บ้านดอกไม้ บ้านพานถม บ้านตีทอง บ้านหม้อ บ้านช่างหล่อ บ้านบุ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหมู่บ้านหัตถกรรมเหล่านี้ในปัจจุบันเหลือเพียงชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการทำงานตามหัตถกรรมตามชื่อของหมู่บ้านอีกแล้ว จะยังมีการทำหัตถกรรมหรือประกอบอาชีพตามชื่อของหมู่บ้านเพียงไม่กี่แห่ง

ในจำนวนชุมชนบ้านช่างในเกาะรัตนโกสินทร์อันเป็นงานช่างฝีมือหลายอย่างที่เคยปรากฎมาตั้งแต่สร้างเมืองหลวงใหม่ๆ พากันทยอยหายไปจากสังคมเมืองหลวงกันหมดแล้ว กระนั้นก็ตามนับว่ายังโชคดีที่ยังพอมีชุมชนช่างที่เหลืองานพอสืบทอดพอให้เห็นมาจถึงปัจจุบันนี้ นั้นก็คือ ชุมชนบ้านบาตร ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

บาตรเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ในการออกบิณฑบาตร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ตักบาตรทำบุญกันในทุก ๆ เช้า และเป็นหนึ่งในของอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ อาชีพทำบาตรมาตั้งแต่เริ่มกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์ฝีมืออันประณีตในการทำเครื่องใช้สอยของพระภิกษุสงฆ์เพื่อออกบิณฑบาตร ปัจจุบันมีให้เห็นไม่มากนัก อยุ่ที่ชุมชนบ้านบาตร กรุงเทพมหานคร

จากการที่สังคมได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการผลิตมากขึ้น ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่ละมากๆ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ชุมชนบ้านบาตรก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามยุคโลกาภิวัฒน์ สาเหตุที่ทำให้บาตรที่ทำด้วยฝีมือประณีต อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีบาตรปั๊มเข้ามาแทนที่ เมื่อราวปี พ.ศ. 2513 มีการตั้งโรงงานทำบาตรปั๊ม (บาตรที่ทำด้วยเครื่องจักร) หลายโรง บางโรงงานเป็นของพ่อค้าคนกลางที่เคยดำเนินกิจการทำเครื่องเหล็กมาก่อน เช่น ทำกระป๋อง ทำช้อน ฯลฯ แต่กิจการไม่ค่อยได้ผลกกำไรเท่าที่ควร จึงเพิ่มการทำบาตรปั๊มให้มีรายได้ดีขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเป็นการลดรายได้ของชาวบ้านบาตรให้เหลือน้อยลง เนื่องจากพ่อค้าคนกลางหันไปส่งบาตรปั๊มจำหน่ายมากขึ้น เพราะทางโรงงานมักจะให้เครดิตกับพ่อค้าคนกลางให้รับบาตรไปก่อนผ่อนจ่ายเงินที่หลัง และที่สำคัญคือจำหน่ายในราคาถูกกว่า บาตรปั๊มนั้นราคาถูกกว่าบาตรที่ทำด้วยมือครึ่งต่อครึ่ง เพราะทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า ไม่ต้องผ่านขึ้นตอนยุ่งยากเหมือนบาตรปั๊มที่ทำด้วยมือ

เนื่องจากการก่อตั้งทำโรงงานทำบาตรแล้ว ยังมีปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้งานหัตถกรรมการทำบาตรของชุมชนบ้านบาตรจะเลือนหายจากสังคมไทยคือ “ปัญหาการสืบทอดวิชาช่างบาตรของคนรุ่นใหม่ คนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่สนใจที่จะรับการถ่ายทอดวิชาชีพการทำบาตร เพราะมีแนวคิด ความรู้สึกและวิธีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยแปลงไป สังคมในปัจจุบันเน้นความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุมากกว่าความเจริญทางด้านศีลธรรม คุณธรรม เห็นความสำคัญด้านอุตสาหกรรมมากกว่างานทางด้านหัตถกรรม จึงทำให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าการทำงานบาตรเป็นงานที่ยาก ต้องใช้ความอดทน และที่สำคัญก็คือ รายได้ไม่พอกับการยังชีพ ประกอบกับการทำบาตรเป็นงานที่มีขั้นตอนมาก ในอดีตจะมีการสืบทอดให้กับลูกหลานในบ้านของตน แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันลูกหลานไม่มีความสนใจเท่าที่ควร อีกทั้งได้รับการศึกษาสูงขึ้นทำให้การหาอาชีพที่สบายกว่า รายได้ดีกว่า หรือมีเกียรติในมุมมองของชาวบ้าน จึงทำให้ผู้ที่สนใจการทำบาตรเป็นคนนอกชุมชนที่ต้องการอนุรักษ์บาตรให้คงอยู่ จึงมีการเปิดสอนที่สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็ไม่สนใจเท่าที่ควรจึงหยุดสอน จึงยังไม่มีการสืบทอดอย่างจริงจัง ช่างทุกคนล้วนเป็นลูกหลานปัจจุบันที่อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แล้ว และยังไม่มีคนรุ่นใหม่คนไหนที่ต้องการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ชาวบ้านบาตรผู้ซึ่งผลิตบาตรด้วยฝีมือประณีตที่ยังคงทวนกระแสสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มั่นคงนัก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ชุมชนบ้านบาตรในปัจจุบันซึ่งมีอยู่ประมาณ 136 หลังคาเรือน คงเหลือ 4-5 หลังคาเรือนเท่านั้นที่ยังคงยึดอาชีพทำบาตรอยู่ด้วย ปัญหาและอุปสรรคในการทำบาตรยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในอนาคตข้างหน้าที่บ้านบาตรจะยังคงมีการผลิตบาตรให้เห็นอยู่อีกหรือไม่ นับเป็นเรื่องน่าเสียดายหากชุมชนช่างบ้านบาตรซึ่งมีมาตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์จะหายไปจากสังคมเมืองหลวงเหมือนชุมชนบ้านอื่นๆ ที่ทิ้งชื่อไว้บนถนนหนทางว่าเคยมีชุมชนช่างเช่นนี้อยู่


จากการวิเคราะห์ของข้าพเจ้าอย่างกว้างๆ โดยอาศัยการศึกษาจากบทความจากหนังสือต่าง ๆ ตามรายการโทรทัศน์ และจากความรู้เบื้องต้นที่ผู้วิจัยมี จึงเห็นว่ากลุ่มทำบาตร ชุมชนบ้านบาตรจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการที่ดีในการดำเนินการอนุรักษ์หัตถกรรมการทำบาตรของชุมชนบ้านบาตร โดยมีกลยุทธ์การจัดการที่ดีที่เหมาะสมกับชุมชน มุ่งหาแนวทางในการแก้ใขทางด้านกลยุทธ์ด้านต่างๆ เช่น ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ และต้องได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้วย มุ่งเน้นจัดการด้านกำลังการผลิตเพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า แม้ว่าหน่วยงานของรัฐจะมีการปิดโรงงานบาตรปั๊มแล้ว แต่ก็ยังมีการลักลอบผลิตอยู่แล้วออกส่งขายตามที่ต่างๆ มุ่งบริหารจัดการให้เป็นอาชีพที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ ที่สำคัญควรหาแนวทางในการอนุรักษ์แบบยั่งยืนเพื่อให้อาชีพการทำบาตรได้รับการสืบทอดต่อไปในอนาคตเพื่อมิให้สูญหายไปจากสังคม ปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนให้มีความรักและภูมิใจในอาชีพการทำบาตร เพราะเป็นศิลปะชิ้นเอกที่บรรพบุรุษของคนในชุมชนของตนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นมรดกตกทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ส่งเสริมให้หัตถกรรมศาสตร์แขนงนี้มีอยู่สืบต่อไปไม่เพียงแต่คนในชุมชนเท่านั้น รวมไปถึงเยาวชน คนนอกชุมชน บุคลคลทั่วไปที่สนใจ และกระจายศาสตร์ความรู้แขนงนี้ไปยังชุมชนต่างๆ ทั้งนี้ต้องได้รับการร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนอีกด้วย

เราต้องช่วยกันอนุรักษ์อาชีพที่มีคุณค่าชิ้นนี้เอาไว้ เพราะมันคือภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่ได้สร้างสรรค์ไว้และต้องการสืบทอดต่อจากรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นรากเหง้าของความเป็นไทยเป็นวัฒนธรรมไทยที่มีมาช้านาน เป็นความเข้มแข็งของชาติที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เราเองในฐานะชาวไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์อาชีพการทำบาตรเอาไว้ อย่าให้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันเอาชนะความเป็นชาติของเราได้

ชุมชนบ้านบาตร เป็นชุมชนที่อยู่กลางกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างถนนบำรุงเมือง ถนนบริพัตร และถนนวรจักร เป็นซอยเล็กๆ สามารถเดินทะลุถนนใหญ่ทั้งสามดังกล่าวข้างต้นได้ ชุมชนบ้านบาตรอยู่ในพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ชุมชนที่อยุ่ทางด้านเหนือคือ ชุมชนบ้านดอกไม้ ชุมชนที่อยู่ทางใต้คือ ชุมชนวัดสระเกศ เป็นชุมชนที่มีการทำบาตรพระในปัจจุบัน
บาตร หรือบาตรพระ ตรงกับภาษาบาลี “ปตตํ” (วิทย์ พิณคันเงิน, 2508: 56) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Arm bowl (ปิ่น มุทุกันต์, 2508: 81) บาตร หมายถึง
-ภาชนะสำหรับอาหารของนักบวช (มหาวีรวงศ์, 2515: 15)
-ภาชนะหนิดหนึ่งสำหรับพระภิกษุ สามาเณรใช้รับอาหารบิณฑบาตร (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525: 78)
-ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร 8 ของภิกษุ (พระเทพเทวี, 2525: 78)
สรุป บาตร หมายถึง ภาชนะสำรับใส่อาหารของนักบวชเวลาออกบิณฑบาต

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 ตุลาคม 2552 เวลา 07:44

    เห็นด้วยครับว่าสมควรต้องรักษาไว้

    ตอบลบ
  2. เข้ามาอ่านแล้วตามคำเรียกร้อง
    ก็น่าสนใจดี...เขียนอีกเยอะนะจ๊ะ
    พี่หนู

    ตอบลบ